SG74-Antony

St.Gabriel's College, Bangkok
Class 1983-1995
Antony, aka St.Antony01

การนับรุ่นAntony
เรื่องใหญ่ของโรงเรียนเก่าก็เรื่องรุ่นนี่แหละครับ ช่วงปีที่เราอยู่โรงเรียนคือปี 1983-1995 เพื่อนที่จบปี94 คือปีการศึกษา93(2536) จะเป็นพวกสอบเทียบเข้ามหาลัยรหัส37 ส่วนพวกที่จบตรงรุ่นจะจบในปีการศึกษา2537(1994) เข้ามหาลัยปี2538หรือเรียนมอหกวันสุดท้ายในเดือนมีนาคมปี1995 นับปีการศึกษาที่จบคือ 1994 ลบปีเกิดโรงเรียน1920=74

อีกแนวทางการนับรุ่นคือจากโรงเรียนเปิด1920แต่ในทางการและสอนอยู่ที่บ้านเบอร์ลี(น่าสนใจว่าอยู่ไหนและหายไปไหนจากประวัติโรงเรียน) เปิดจริงตอนตึกแดงเสร็จในเดือนกุมภาพันธุ์1922 จึงมีนักเรียนจบรุ่นแรกปีนี้นับเป็นรุ่นหนึ่ง อาจอธิบายได้อีกอย่างว่านักเรียนเซนต์คาเบรียลรุ่นที่หนึ่งจบในปีที่หนึ่งของตึกแดงและเราจบในปีที่74ของตึกแดง
ประเด็นเรื่องการนับปีแรกอาจยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่ามายังไง ถ้าหากจะนับว่ารุ่นแรกที่จบคือปี1921 เราก็จะเป็นรุ่น75 แต่เหมือนจะมีปีเปลี่ยนหลักสูตรมัธยมแล้วดันไปดันมาอะไรงั้น อีกอย่างรุ่นหนึ่งเค้าก็ไม่ว่าไง ไว้จะไปเคลียร์มาให้อีกทีนะ แต่ตอนนี้เอางี้ก่อน

อีกอย่างที่รู้มาคือรุ่นหลังนับตามเราเยอะ เพราะปรกติจะตั้งชื่อรุ่นไปเรื่อย ให้มาสเตอร์นู้นนี้ตั้งไปเรื่อย มีรุ่นปุ๋ยเพราะจบปีปุ๋ยได้นางงามจักรวาล รุ่นน้ำท่วมตอนน้ำท่วมกรุง ตอนทำหนังสือมอสามเลยเสนอใช้ตามนักบุญองค์อุปถัมภ์ของอธิการและนับปีวาระซึ่งแป็กไปเหลือแต่ชื่อนักบุญAntony(แห่งเปอร์ดัว) ของบราเดอร์อรุณไว้เท่ห์ๆ และครอสกับนับปีการศึกษาที่จบชนปีอายุโรงเรียนเพื่อกันความสับสนและนับต่อจากหนังสือรุ่นพี่อีกสองสามเล่มซึ่งตอนนี้ก็ไม่รู้ว่ากูนับถูกหรือเปล่า ทีนี้รุ่นหลังๆมันลอกหนังสือรุ่นเราตามๆกันก็เลยเหมือนจะเข้าที่อย่างงี้ไปเลย พอรุ่นพี่เค้ามาเทียบก็ย้อนกลับไปตามนั้น

รุ่นพ่อเราไม่มีเลขรุ่น ใช้จำเรื่องดังๆเอาเช่นรุ่นตึกพัง (ตอนตึกเดอ ยังเป็นโรงพละแล้วรื้อสร้างตึก เป็นต้น) แล้วดูว่าจบม.8ปีพศ.อะไร (ก่อนภาคบังคับ12ปีในปัจจุบัน สมัยเราเรียนการศึกษาภาคบังคับ6ปี แต่ก่อนหน้านี้บังคับ4ปี คือ ป1-4แล้วต่อม.1-8)

ส่วนชื่อรุ่น St. Antony มาจาก Saint Anthony of Padua บราเดอร์อรุณ ซึ่งถือว่าเริ่มทำให้บรรยากาศเสรีมากขึ้น การบังคับทรงนักเรียนเลิกไป เป็นที่น่าประทับใจของหลายคนเลยน่าอวย ตอนนั้นมีแต่ชื่อรุ่นไทยด้วย เราเลยเลือกเอาAntony of Padua ที่เป็นpatronage saint..ของบราเดอร์มาเชิดซะ อีกอย่างบรรยากาศของโรงเรียนจะมีลักษณะไปตามผู้บริหารทำให้น่าอ้างอิงเพิ่มขึ้นอีก (ช่วงหลังจากเป็นอธิการเซนต์ บราเดอร์สุขภาพทรุดโทรมต้องพักรักษาตัวที่บ้านพักของคณะซอยทองหล่อ หลังรพ.คามิลเลียน ปัจจุบันช่วยดูแลอัสสัมชัญบางรักแผนกประถม)

เรื่องชื่อสะกดตามในหนังสือรุ่นคือAntonyเพราะไปลอกมาจากเอกสารของโรงเรียนซักชิ้น พอกลับไปค้นดู พบว่ามีสะกดทั้งสองแบบหมายถึงAnthony/Antony of Padua โดยมีAnthonyเยอะมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะการเทียบจากชื่อเดิมที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ซึ่งดั้งเดิมคือภาษาละตินที่น่าจะใกล้กับItalian คือ sant'Antonio di Padova หรือ Antoine อังตวนในฝรั่งเศส เหมือนกรณีเราจะสะกดปลัดเลย์หรือแบรดลีย์ก็ยังเข้าใจว่าเป็นBradleyเดียวกัน

ที่บราเดอร์อรุณสะกดของอย่างนั้นก็น่าจะเป็นไปตามแนวอินเดีย-อังกฤษ ซึ่งเป็นแบบเก่ากว่า จากที่ไปค้นเจอว่าโบสถ์St.Antonyในรัฐทมิฬนาดูรที่บราเดอร์รุ่นเก่าต้องไปเรียนและถวายตัวรับใช้พระเจ้าได้สะกดอย่างนั้นก่อนจะมาเปลี่ยนเป็นAnthonyในปัจจุบัน แต่ว่าโบสถ์St.Antonyหรือตัวสะกดแบบนี้ก็ยังปรากฏอยู่เยอะในประเทศอังกฤษและอาณานิคมเก่า St.Antony CollegeของOxfordก็สะกดอย่างนี้(แต่ไม่ใช่Antony Of Paduaคนละท่านกัน ใครจบที่นั่นช่วยอธิบายด้วย)

แต่ตามหลักเราน่าจะรุ่นที่ 63 นะ เพราะเราเข้าปี 1983 ถ้าเรารุ่น 74 แสดงว่าโรงเรียนเราไม่มีรุ่นที่ 1-12 อ่าดิ จริง ๆ แล้วมันนับรุ่นจบหรือรุ่นเข้า?

เรื่องนับปีเข้าหรือปีออกน่าจะแล้วแต่ธรรมเนียมซึ่งถ้าไปไล่ดูจะเห็นว่าเกือบทุกโรงเรียนมีปัญหาเหมือนกัน
ถ้านับปีเข้าส่วนมากจะจำกันยากกว่าปีออก มันนานกว่าเยอะ
โรงเรียนเปิดปีแรกๆ อาจมีคนมาเรียนมอปลายชั้นสูงๆจบในปีเดียวเป็นรุ่นหนึ่งก็ได้ คนจบเซนต์สมัยก่อนไม่ได้เยอะมาก ไม่ต้องใช้เลขรุ่น รุ่นหนึ่งถึงรุ่นหลายสิบจึงไม่ได้มีความหมายมากนักสำหรับอายุโรงเรียนเรา ตอนทำหนังสือรุ่นมอสาม จึงเริ่มนับปีที่อยู่ถึกกันไปถึงมอสาม(ตอนนั้นก็แอบอ้างเป็นSG71อยู่พัก แต่ไม่ติตตลาด Antony01เข้าวิน) ต่อมาให้เกียรติพวกถึกถึงมอหกก็นับปีจบมอหก

สวนกูหลาบก็จับรุ่น100ที่ปีฉลอง100ปีโรงเรียน แล้วก็นับขึ้นนับลงกันไป ใช้กันไป สตรีวิทย์ ทวีธา อัสสัมบางรัก มั่วกันมาเยอะ สมาคมศิษย์เก่า บางที่ที่เค้ามีสำนึกรู้หน้าที่ก็มีการตั้งมาตรฐานนับรุ่น โดยซึ่งสมาคมเราก็ไม่ว่างทำ เด็กก็นับมั่วกันเองมาเยอะ เราก็มั่วแต่มีข้อมูลประกอบและการส่งต่อที่ดี ที่เว็บSGalumniก็น่าจะสูตรเดียวกัน จึงขอยืนยันความถูกต้องเท่าทีมีไว้ ณ ที่นี้แล